วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เตรียมสอบ PAT1 กัน ข้อสอบเลขสุดอำมหิต

ต้องรู้ก่อนว่า
PAT1 นั้นจะออกเรื่องอะไรบ้าง
เรื่องไหนควรอ่าน เรื่องไหนควรทิ้ง
ต้องแยกให้ออก ข้อไหนควรทำ ข้อไหนไม่ควรทำ
PAT1 นั้นมีทั้งหมด 17 บท อะไรบ้างนั้น หาเอาเอง -..-


"เรื่องไหนควรอ่าน เรื่องไหนควรทิ้ง"
หลักๆเลยก็คือ ตัดเรื่องที่ไม่ชอบไม่เคยอ่านทิ้งไปก่อน
ทุ่มให้กับเรื่องทีเราคิดว่าง่าย
แต่ปัญหาคือ ไม่ชอบซักเรื่องน่ะสิ -3-

เราขอแนะ เรื่องที่ PAT1 ออกง่าย ไม่พลิกแพลง ควรอ่าน

1. กำหนดการเชิงเส้น เป็นบทที่ไม่มีอะไรเลย มีหัวข้อเดียว มีวิธีทำเดียว ไม่มีความซับซ้อน ที่สำคัญออกทุกปี
2. พวกที่ไม่เห็นในบทเรียน คือมันจะออกง่าย ถ้าอ่่านจะรู้ เพราะเราจัดไว้ในบทไหนไม่ได้
3. สถิติ แน่นอน บทนี่ไม่มีอะไร ขอแค่เข้าใจทุกคำนิยาม สูตรท่องๆไปไม่เยอะ ก็เก็บได้ละ ที่สำคัญออกเยอะ 4-5 ข้อ
4. เรื่อง Expo Log ใช้ประสบการณ์นิดหน่อย แต่ถ้าเข้าใจ จะง่ายทันที
5. Matrix หา Det Adj หัวข้อนี้ สูตรเดียว ไม่ต้องเข้าใจก็ทำได้ ออกทุกปี
6. ทฤษฎีจำนวน จำพวก หรม ครน เลขเยอะหน่อย แต่ออกชัวร์
7. การแก้อสมการ ,อสมการติดแอ๊บ อันนี้ยากแต่ถ้าเคยทำจะทำได้ เพราะไม่พลิกแพลง แก้ได้ตรงๆ
8. ลำดับเลขคณิต และลำดับเรขา ถ้าโจทย์ข้อไหนบอกว่า เป็นลำดับเลขคณิตหรือลำดับเรขาคณิต จะกลายเป็นง่ายทันที แต่ถ้าบอกว่าเป็นลำดับใดๆ(ไม่บอกว่าเป็น เลข หรือ เรขา) ให้ข้ามทันที
9. Set ตรรกศาสตร์ เรื่องง่ายๆที่เก็บได้อยู่แล้ว
10 ความน่าจะเป็น แบบ Set (คล้ายเซ็ตเลย)

10ข้อที่กล่าวมา ถ้าทำได้หมด เราว่าได้เกิน 100 แล้วล่ะ 5555


เรื่องไหนควรทิ้ง

1. ลำดับ อนุกรม ถ้าไม่ตามข้อ 8 ให้กาข้อสอบทิ้งซะ
2. ตรีโกณมิติ แน่นอนเอาโจทย์จากโลกไหนมาให้สอบ
3. เลขเยอะๆ เช่น xกำลังพัน เงี่ย อย่าคิดแตะ
4. ความน่าจะเป็น ให้อ่านดู นึกภาพให้ออก ถ้านึกไม่ออกข้าม
5. ข้อสอบ โอลิมปิก ทั้งหลาย อ่านแล้วจะรู้เลย โอ แน่ๆ(ข้อสอบโอ จะซับซ้อน ข้อไหนอ่านไม่รู้เรื่อง ข้อนั้นแหละ)
ต่อไปนี่เป็นเรื่องที่ถ้าชอบก็เก็บ ถ้าไม่ชอบก็ทิ้ง(ยาก ไม่ยากตามความเห็นเรานะ)
1ฟังก์ชั่น 2ภาคตัดกรวย
3matrix 4vector 5cal 6จำนวนเชิงซ้อน


"การทำข้อสอบเลขให้ได้คะแนนเยอะ"

วิธีการ
1อ่านข้อสอบทั้งหมดก่อน อย่าเพิ่งทำ แล้วเขียนชื่อเรื่องไว้ด้านหน้าข้อ
2เรื่องไหนเราอ่านมาก็วงข้อไว้ เรื่องไหนไม่ได้อ่านก็กากบาทใส่เลย
3พิจารณาจากข้อที่วงว่าทำข้อไหนได้บ้าง
แล้วอย่าพึ่งทำ ให้ดูโจทย์แล้วคิดภาพรวมของการแก้โจทย์
ถ้ามองเห็นทางสว่างก็วงไว้ ถ้านึกแล้วตันให้ใส่เครื่องหมาย ?


เริ่มทำข้อสอบ
1เรียงลำดับการทำคือ ทำข้อที่วงไว้ให้ได้ทุกข้อ
2หลังจากนั้นทำข้อที่เเราใส่ ?
แค่สองอันนี้เวลาก็จะหมดละ แต่ถ้ามีเวลาเหลือก็พยายามข้อที่กากบาทไว้แต่แรกละกัน
*พยายามทำอัตนัยก่อน เพราะมันมั่วไม่ได้*


สิ่งที่ควรระวัง
1 การคิดเลขผิด การสะเพร่า หากเราคิดข้อหนึ่งจนขั้นตอนสุดท้าย ได้คำตอบแล้ว พอไปเช้คช้อย ไม่มีคำตอบให้ข้ามทันที ว่างไว้ มีเวลากลับมาคิดใหม่(แต่ถ้าเป็น อัตนัย ก็ตอบเลยเหอะ)
2 เวลา รักษาเวลาให้ดี ถ้าเรากำลังทำข้อที่เราไม่เคยเห็น แต่น่าจะง่าย อย่าไปเสียเวลากับข้อเหล่านั้นให้มากนัก เกิน 3 นาทีให้โยนทิ้งทันที


"การฝึกทักษะเหล่านี้มีอยู่ 2 อย่างที่ต้องทำ"
1 การทำโจทย์ให้มากที่สุด(อย่างต่ำ 7 วัน นี่ขอ 100ข้อ ก็น่าจะไหวนา)
2 จำลองการสอบ(2-3 ครั้ง สอบกับข้อสอบจริง จับเวลาจริง)


การทำโจทย์ จะทำให้เราสามารถแยกแยะโจทย์ได้ง่ายขึ้น
คือ หากเจอโจทย์เยอะ เราจะรู้เลยว่า ข้อนี้ ทำแล้วได้คำตอบแน่ ข้อนั้น ทำแล้วไปต่อไม่ได้ หรือข้อนี้เรื่องนี้ผสมเรื่องนั้นนะ เหมือนกับว่า เรามีประสบการณ์มากขึ้น ก็จะทำได้ดีขึ้น


การจำลองสอบ จะทำให้เราบริหารเวลาได้ดีขึ้นในรอบต่อไป ทำให้เราาคิดเลขผิดน้อยลง สะเพร่าน้อยลง กล่าวคือ ทำให้เรามีสติมากขึ้นนั่นเอง และอีกอย่างนึง ทำให้รู้ว่าเราบกพร่องตรงไหนยังไง จะได้แก้ไขได้ทัน


สู้ๆทุกคนนะครับบ > < 


3 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณคร่าาา
    จะไล่อ่านเรื่องที่พี่เล่านะคะ
    หนุกมากเลย แต่ตอนนี้หนูไปทำ pat ก่อนนะคะ
    ฟิ้วววววว

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณคร่าาา
    จะไล่อ่านเรื่องที่พี่เล่านะคะ
    หนุกมากเลย แต่ตอนนี้หนูไปทำ pat ก่อนนะคะ
    ฟิ้วววววว

    ตอบลบ