วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วาดก็กาก แต่อยากอวด



อันนี้เป็นผลงานชิ้นแรก นะครับ

นั่งทำนานมว๊ากก ทำโดย SAI+PhotoShop
เม้าหนูทั้งหมด :D


ไม่สวยหรอก 555555
*ติชมได้นะครับ  :3




BG


Original

Source:  Xision-http://xision.deviantart.com/art/New-York-Night-Lights-300247445

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

มาอัพคะแนนคณิตศาสตร์กัน !!




          พอพูดถึงเจ้านี้ บางคนถึงกับต้องร้อง อี๋ กันเลยทีเดียว  ก็มันเป็นวิชาที่ยากแสนยากน่ะสิ ทั้งเยอะ ทั้งเข้าใจยาก ไอเราก็ไม่เข้าใจจริงๆว่าพวกเก่งๆ ทำไมมันก็เก๊งเก่ง อย่างพวกเราๆเนี่ย ก็ไม่ได้ถึงกับโง่หรอกนะ แต่คะแนนออกมามันน้อยมว๊ากน่ะสิ


          แล้วยังไงน่ะเหรอ วิชานี้ไม่เหมือนวิชาอื่นหรอกนะ บางคนอาจจะมองว่าเหมือนฟิสิกส์หรือเคมีที่มีคำนวณเหมือนกัน แต่ความจริงแล้ว มันไม่เหมือนกันซักนิด คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องคิดวิเคราะห์มากกว่า โจทย์มีความหลากหลายมาก ต้องเข้าใจจริงๆถึงจะสามารถทำโจทย์ได้ ส่วนพวกฟิสิกส์หรือเคมี จะค่อนข้างตายตัวมากกว่า แบบถ้าจำสูตรได้ก็พอถูไถไปได้ แต่คณิตไม่ใช่ จำสูตรไปหมดเล่ม ก็ทำคะแนนได้ไม่ถึง 50% มันต้องใช้อะไรหลายอย่าง หากอยากได้คะแนนสูงๆ

          หลักๆเลยก็คือ

                    1) ความเข้าใจ ถ้าคุณไม่เข้าใจบทต่างๆเช่น เรื่องเซ็ต หากคุณไม่เข้าใจนิยามของมัน คุณจะทำได้ข้อสอบได้ยากล่ะ หรือไม่ได้ลย แค่จำสูตรไป คุณจะทำข้อสอบคณิตศาสตร์ไม่ได้เลย แค่รู้เพียงผิวเผินก็เช่นกัน ความเข้าใจอย่างถ่องแท้จะทำให้ข้อสอบคณิตศาสตร์ได้พอสมควรแล้วล่ะ (ที่บอกพอสมควรเพราะสำหรับการสอบแล้วมันไม่พอน่ะสิ)วิธีการอ่านให้เข้าใจนั้นไม่ยาก คุณอาจจะใช้เวลาในการเข้าใจนานหน่อย แต่มันก็คุ้มที่คุณจะเข้าใจมัน หรือคุณจะไปถามผู้รู้ ให้เขาอธิบายให้ฟัง คุณที่ควรไปถามคือติวเตอร์หรือครู เพราะคนเหล่านั้น รู้วิธีการที่จะทำให้คุณเข้าใจได้ดีที่สุด

                    2) ความคล่องแคล่ว คุณสมบัตินี้อาจจะไม่สำคัญ แต่สำหรับการสอบที่มีเวลาอันจำกัดแล้วสำคัญทีดียว ความคล่องแคล่วก็อย่างเช่น การคิดเลขเร็ว แยกตัวประกอบในใจ แก้สมการในใจ ประมาณนี้ สามารถโดยการทำข้อสอบไปเรื่อยๆ เยอะๆ(ข้อสอบเก่ามากมายเหลือเกิน) พยายามจับเวลาแต่ละข้อที่ทำและทำให้เร็วขึ้นเรื่อยๆ อ้อ ที่สำคัญต้องใจเย็นและตั้งสติให้ดี ใช่แล้วล่ะ ต้องเร็วและต้องมีสติด้วย ถึงแม้ว่าคุณดข้อสอบแล้วทำได้หมด แต่ทำไม่ทันมันก็ไม่มีความหมาย

                    3) ความรอบคอบ คุณสมบัตินี้สำคัญพอกับๆข้อ 1 และ ข้อ 2 เพราะหากคุณขาดคุณสมบัติข้อนี้ไป คะแนนของคุณอาจจะตกต่ำเรี่ยดิน อย่างเช่น ลืมทำโน่น ลืมตรงนั้น ลืมตรงนี้ หากขาดคุณสมบัติจะทำให้คุณ "คิดว่า" คุณทำข้อสอบได้คะแนนเยอะ พอคะแนนสอบออกมาแล้วก็เงิบตามๆกัน(ผมเจอมาแล้ว 555) จะสร้างคุณสมบัติข้อนี้ ต้องเจอข้อสอบที่หลากหลายมากพอ เมื่อเกิดจุดผิดพลาดขึ้นมา อย่ารอช้า ดูข้อผิดพลาดนั้นซะ เกิดจากอะไร ทำความเข้าใจมันให้มากที่สุด บอกตัวเองว่าจะต้องไม่ผิดพลาดอีกในครั้งต่อไป



          3 ข้อหลักสุดยอดที่ผมคิดขึ้นเอง ฮ่าๆ แต่ก็ใช้ได้จริงเลยล่ะ ความเข้าใจ ความคล่องแคล่ว ความรอบคอบ นี่แหละจะช่วยอัพคะแนนคณิตศาสตร์ของเราได้มหาศาล.....เห็นได้ว่าผมไม่ได้พูดถึงการท่องจำเลย ใช่แล้วล่ะวิชานี้ไม่จำเป็นต้องท่องเลยจริงๆ เพียงคุณมีคุณสมบัติความคล่องแคล่ว ซึ่งเกิดจากทำโจทย์มาเยอะ สูตรจะเข้าไปอัดในหัวสมองคุณอัตโนมัติ

          *เคล็ดลับง่ายคือ อ่านให้เข้าใจ และทำโจทย์เยอะๆ แค่นี้แหละ



          แต่อุปสรรคก็ขวางกั้น อุปสรรคชิ้นโตๆ ซึ่งผ่านไปได้ยากเหลือเกิน จะอะไรเสียอีก "การเริ่มต้น" ไงล่ะ เจ้าอุปสรรคก้อนๆนี่แหละ จะทำลายความฝันที่จะพิชิตคณิตศาสตร์ของคุณ ก่อนที่คุณจะมี 3ข้อหลักนั้นได้ จะต้องผ่านเจ้าอุปสรรคนี้ก่อนเลย


          การเริ่มต้นไม่ใช่เรื่องยากหรอก เอาจริงๆแล้วคนที่ัตั้งใจจริง ก็ผ่านไปได้ไม่ยาก แต่สำหรับคนธรรมดาอย่างเราคงยากสินะ ผมจะบอกวิธีให้ ก่อนอื่นคุณต้องเปิดใจก่อนเป็นอันดับแรก ใช่แล้วล่ะการเปิดใจ ลบอคติต่อวิชานี้ออกไปให้หมด ยอมรับว่า เราจะต้องใช้วิชานี้นะ วิชานี้เป็นวิชาสำคัญนะ สำหรับการเรียนต่อของเรา บอกตัวเองแบบนี้ แล้วก็อดทนเริ่มต้นซะ หรือไม่ก็สร้างความอยากอ่านขึ้น สร้างความสนใจต่อวิชา ลองมองหาจุดที่น่าสนใจของมัน ลองทำเรื่องๆเล็กเกี่ยวกับวิชา ลองสนุกกับมัน รู้สึกของความท้าทายของโจทย์ต่างๆที่นำมาให้เราแก้

          สรุปก็คือ การเปิดใจ จะทำให้เริ่มต้นได้ไม่ยากในวิชานี้
          อย่างไรก็ตาม ความขยัน สำคัญมากที่สุดครับ :)


วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โรงเรียนอันแสนน่าเบื่อ ~


          "โรงเรียน" เมื่อพูดคำๆนี้ขึ้น สำหรับพวกเราเหล่านักเรียนแล้ว คงมีไม่น้อยเลยล่ะ ที่จะบอกว่า "น่าเบื่อ" ก็มันน่าเบื่อจริงๆนี่นา ....เบื่อในอะไรหลายอย่างๆ ทั้งการเรียนการสอนที่แสนเซง กฏระเบียบที่ระเบียดจัดจนน่ารำคาญ ต้องไปตากแดดในตอนเช้าของทุกๆวัน แล้วยังต้องนั่งอดอู้อยู่ในห้องแคบๆอันแสนอบอ้าวกับเพื่อนรวมชะตากรรมอีกครึ่งร้อยทั้งวัน พร้อมกับครูที่บ่นเก่งยิ่งกว่าการสอนเสียอีก มีสิ่งเดียวเท่านั้นที่ทำให้ผมอยากไปโรงเรียนคือ....ไปหาเพื่อน...

          สาเหตุที่เราไม่อยากไปนั้นมีหลายสาเหตุมากมายแล้วแต่คน ผมคิดว่ามีคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อยากมาโรงเรียนเพราะอยากเรียน สาเหตุที่นักเรียนทั้งหลาย ไม่อยากไปโรงเรียน มีอะไรบ้างนะ **ทั้งหมดนี้เขียนด้วยความคิดของผม ที่อยู่ในช่วงวัยเรียนนี่แหละ

สาเหตุแรกคือ"การเรียนการสอนที่น่าเบื่อ"


          ทำไมการเรียนการสอนถึงน่าเบื่อนั้นก็ประกอบไปด้วยหลายเหตุผล เรียนที่ไม่เข้าใจในเนื้อหา ครูสอนได้น่าเบื่อและไม่สนุก ครูเข้ามาก็บ่นนู่นนั้นนี่บ้างล่ะ ความไม่สนใจที่จะอยากรู้ในวิชานั้นบ้างล่ะ หรือแม้แต่อากาศที่ไม่เอื้ออำนวยเอาเสียเลย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของการเรียนการสอนที่น่าเบื่อแทบทั้งนั้น

          เห็นได้ว่าการเรียนการสอนที่น่าเบื่อมีสาเหตุมาจากทั้ง2คนเลยคือ ครูและนักเรียน สาเหตุที่มาจากครูคือ การสอนโดยที่ไม่สนุก การสอนโดยที่นักเรียนไม่เข้าใจ การสอนโดยที่ไม่อยากสอน การที่ไม่เข้าใจเด็ก เข้ามาในห้องเรียนแทนที่จะสอนหนังสือแต่กับบ่นนู่นนั้นนี่โดยที่ไม่เกี่ยวกับการเรียน การอบรมสั่งสอนในเวลาที่ควรจะสอนหนังสือ หรืออื่นๆที่ผมนึกไม่ออก สิ่งเหล่านี้ผมไม่รู้อะไรมากหรอก เพราะผมไม่ใช่ครู แต่ก็เป็นสาเหตุของการเรียนการสอนที่น่าเบื่อ และนี่เป็นเพียงมุมมองของผมเท่านั้น

          ส่วนสิ่งที่เกิดจากตัวนักเรียนนั้นคือ ความไม่อยากเรียนนี่แหละ เรื่องแบบนี้มันแก้ยาก ถ้าหากเราไม่อยากเรียนวิชาอะไรซักอย่าง ถึงแม้ครูจะสอนดี สอนสนุก ห้องเรียนน่าเรียนแค่ไหนก็ตาม ตัวนีกเรียนมันก็เบื่ออยู่วันยังค่ำ

          การเรียนที่หนักเกินไปก็เช่นกัน การที่เราต้องนั่งเรียนทั้งวัน และอัดๆวิชาความรู้เข้ามาในหัวสมองของเรา ในทุกๆวันนั้นก็สร้างเหนื่อยล้าแก่นักเรียน รวมถึงครูที่ต้องสอนทั้งวันก็เหนื่อย แล้วยังทำให้การเรียนการสอนน่าเบื่อเพราะเหนื่อยล้าเกินไป ความสามารถในการเข้าใจวิชาความรู้ของนักเรียนยังลดลง

          ห้องเรียนที่ไม่น่าเรียนก็มีผลให้การเรียนการสอนมันน่าเบื่อเช่นกัน วันไหนที่ร้อนๆหน่อย พอเข้าไปในห้องจะร้อนแบบทวีคูณแบบหาที่เปรียบไม่ได้ อีกทั้งยังตั้งนั่งร้อนกับเพื่อนอีกครึ่งร้อย แน่นอนความอยากเรียนจึงแทบไม่มี ขณะเดียวกันหากได้ใช้ห้องแอร์ล่ะก็ ความปิติยินดีที่จะเรียนเพิ่มขึ้นแบบขีดสุด ไม่มีใครบ่นซักคนว่าไม่อยากเรียน

          นี่อาจจะเป็นสาเหตุของการเรียนกวดวิชาที่บูมขนาดนี้ เอาจริงๆแล้วกวดวิชาไม่จำเป็นเลยสำหรับนักเรียน เสียค่าใช้จ่ายก็มาก บางคนเดินทางข้ามจังหวัดมาเรียนเลยที่เดียว ทั้งๆที่นอนอ่านหนังสืออยู่บ้านก็ไม่ต่างกันมากหรอก แต่ทุกคนก็ยังอยากเรียนกันอยู่ อาจจะเป็นเพราะการเรียนการสอนที่น่าเบื่อในห้องด้วยล่ะ เพราะการเรียนกวดวิชานั้น แตกต่างกันมากกับการเรียนในห้องเรียน ครูสอนที่เฮฮา สนุกสนาน อีกทั้งยังสอนเนื้อหาได้เข้าใจมากกว่า ห้องเรียนที่น่าเรียนมากกว่า หรืออื่นๆที่ผมไม่ทราบ        

สาเหตุที่สองคือกฏระเบียบอันเข้มงวดของโรงเรียน


          เฮ้ พวกเราเป็นนักเรียนนะไม่ได้เป็นทหาร ถึงต้องเค้มงวดกฏระเบียบอะไรมากมายขนาดนั้น จุดประสงค์หลักๆของการตั้งโรงเรียนคืออะไร คือการที่นักเรียนมีความรู้ไม่ใช่เหรอ บางโรงเรียนเน้นกฏระเบียบมากกว่าการเรียนซะอีก แต่ก็อย่างว่า กฏระเบียบก็สำคัญ แต่นั้นไม่ใช่่ที่สุด และไม่ใช่สิ่งที่โรงเรียนต้องเน้น

          ความน่าเบื่อจึงเกิดขี้น นอกจากจะมีการเรียนการสอนที่น่าเบื่อแล้ว ยังกฏระเบียบที่จัดจนเครียดตาย แทนที่จะกังวลว่า "โอ้ว ยังไม่เข้าใจบทนี้เลยนะ" เป็นกังวล "ซวยแล้ววันนี้เรายังไม่ตัดผมเลย ทำอย่างไรดี" มันจะไม่ทำให้โรงเรียนน่าเบื่อได้อย่างไร

          เห็นได้ว่า โรงเรียนไม่ได้เน้นการเรียน(หรือจะเน้นมากไป จนมันน่าเบื่อ) จุดตายของการเรียนมันอยู่ตรงน่าเบื่อนี้แหละ การเรียนด้วยความไม่อยากรู้นั้น เป็นจุดจบการเรียนรู้เลย เพราะถึงแม้จะฝืนเรียนไป เราจะได้ความรู้ไม่ถึง 10% ด้วยซ้ำ


          ผมว่ามันน่าจะมีแค่สองสาเหตุนี้แหละ ถึงทำให้โรงเรียนมันน่าเบื่อ คุณอาจจะไม่เห็นด้วยนะ แต่ว่าสำหรับนักเรียนส่วนใหญ่แล้ว เหตุผลเหล่านี้ก็เป็นจริงทีเดียว ถ้าไม่อยากให้นักเรียนเบื่อการเรียน ก็ต้องแก้ไขสิ่งเหล่านี้นะครับ


นี่มันเป็นการแข่งขัน !!


น่าเห็นใจนะ แต่นี่มันเป็นการแข่งขันแล้วล่ะ
ผมกำลังพูดถึงการสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆอยู่
เมื่อก้าวเข้ามาในสนามนี้แล้ว คุณจะต้องยอมรับ
ความพ่ายแพ้  ความผิดหวัง ความเสียใจ
และสิ่งที่เกิดขึ้นกับ "เพื่อน" ของคุณที่เขาเหล่านั้นสอบไม่ติด

มันเป็นเรื่องที่น่าเศร้านะ
แต่อยากที่ผมบอกไป นี้คือการแข่งขัน
ใครอ่อนแอ จักต้องออกจากสนามและแพ้ไป
ใครท้อแท้ จักต้องพบการผิดหวัง
นี้เป็นสนามการแข่งขันอันยิ่งใหญ่อันแรกเลยล่ะมั้ง

แล้วเราจะทำอย่างไรกับเพื่อนเหล่า
เรากลัวเขาไม่มีที่เรียน กลัวเขาจะสอบไม่ติด

ผมจะบอกวิธีแก้ไขปัญหาให้
คุณจะต้อง "ทำให้เขาสอบติด"
ไม่ใช่ทำให้ตัวเองสอบไม่ติดแล้วเขาจะได้มีที่เรียน

เพราะอะไร เพราะตัวคุณเองนั่นแหละ จะเดือดร้อน
คุณจะต้องตกในภาวะ ความผิดหวัง ความเสียใจแทนเพื่อน
ส่วนเขาก็ได้ดิบได้ดีแทน(ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องดี)
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวคุณไม่ใช่เรื่องดีเลยซักนิด

เพราะแบบนั้นผมถึงได้บอกว่า "ทำให้เขาสอบติด"
ทำให้เขาได้รับชัยชนะไปด้วยกันสิ

หนทางสู่ชัยชนะ คืออะไร
พาเขาเรียน พาเขาอ่านหนังสือ
ติวหนังสือ ฝึกฝนทำข้อสอบ
ไปด้วยกัน เพื่อจะได้สอบติดด้วยกัน
มีที่เรียนด้วยกัน

แบบนี้มัน แฮปปี้มากกว่ากันเยอะเลยนะ :D

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

"สอบไม่ติด" อาจจะเป็นเรื่องดีก็ได้

      มันอาจจะเป็นเรื่องดีนะ ถ้าพวกคุณไม่ติดคณะบ้าบออะไรที่พ่อแม่คาดหวังไว้หรือคณะดีๆที่คนเลือกเยอะเช่น คณะแพทย์ เภสัช ทันตะ หรือศึกษาศาสตร์ แต่ถ้าหากคณะเหล่านั้นเป็นคณะที่เราอยากเข้าจริงๆแบบ "โอ้ว นี้แหละทางเขาเรา เราจะเรียนคณะนี้แหละ ความสุขของเราอยู่ตรงนี้" ถ้าเกิดสอบไม่ติดขึ้นมา ผมก็ขอแสดงความเสียใจ แต่ในกรณีที่คณะเหล่านั้น ไม่ใช่ทางของเราหรือเราไม่ชอบซักนิด อยากเรียนเพราะจบมามีงานทำ เงินเดือนสูง เรียนเพราะพ่อแม่ต้องการให้เรียน ถ้าหากไม่ติดแล้วผมก็ไม่รู้สึกเสียใจกับคนเหล่านั้นเลยซักนิด(ผมกลับรู้สึกดีใจด้วยต่างหาก)


เพราะอะไรรู้ไหม ทำไมผมถึงไม่รู้สึกเสียใจ


          คนเหล่านั้นเลือกคณะพวกนั้นด้วยเหตุผลงี่เง่ายังไงล่ะ
          คุณคิดว่าคณะดีๆเหล่านั้นมันเปิดเท่าไหร่กันต่อปี?
          คุณจะไปแย่งที่คนที่ต้องการจริงๆ เหรอ?
          คุณจะไปแย่งทำลายความฝันของเขา ด้วยเหตุผลงี่เง่านี่น่ะเหรอ(เงินเดือนเยอะ พ่อแม่ต้องการให้เรียน)
          ผมว่ามันแปลกๆนะ

ทำไมเราถึงไม่ทำตามฝันของราล่ะ??


          ยุคสมัยนี้แล้ว ไม่มีอะไรปิดกั้นคุณหรอก
          อยากเป็นนักร้องเหรอ คุณเคยดูรายการ TheVoice ไหม??
          อยากเป็นนักแสดงเหรอ คุณก็ไปทำหน้าให้หล่อๆสวยๆ(ศัลยกรรม) ไปเรียนการแสดงซะสิ ไม่ก็แสดงอะไรเล่นๆผ่าน uTube หากคุณมีคุณภาพจริง มันก็จะดังแบบฉุดไม่อยู่
          อยากเป็นนักดนตรีเหรอ ฝึกซ้อมดนตรี แล้วอัพลง Utube มีคนพร้อมจะฟังเสียงคุณเยอะแยะ
          อยากเป็นนักเขียนเหรอ แต่งนิยายเอาไปลง DEK-D ซะ มีคนพร้อมจะอ่านให้คุณเยอะแยะ

ประเทศไทยเปิดคณะต่างๆมากมาย 


          คณะวิทยาศาสตร์ไม่ว่าสาขาอะไรก็ตาม คณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ที่คุ้นหูคณะเศรษฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะธรณีวิทยาคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีสาขามากมาย สาขาคอมพิวเตอร์เป็นที่ต้องการมากมาย ในยุคITนี้คณะบัญชีที่บริษัททุกแห่งต้องการ คณะวิทยาการจัดการสำหรับนักธุรกิจไฟแรงคณะศิกษาศาสตร์พละะ ที่หลายคนมองข้าม คณะประมง คณะเกษตร มันไม่ดีอย่างไร?คณะสถาปัตย์ ศิลปกรรมศาสตร์ สำหรับเด็กART คณะอักษร มนุษย์สำหรับคนรักภาษา
นี้เป็นเพียงคณะทั่วไปเท่านั้น ยังไม่รวมคณะแปลกๆเช่น ธุรกิจไซเบอร์ ของ มศว นะครับ
มีอะไรอีกไม่รู้เยอะแยะ ลองไปหาดูไหม หาข้อมูลน่ะ

อาชีพใหม่มีมากขี้นเรื่อยๆ


          ลองคิดดูสิ โลกกำลังเกิดภาวะ โลกร้อน พลังงานต่างๆของโลกกำลังจะหมดไป?
          คณะอะไรล่ะที่เป็นประโยชน์ต่อเรื่องพวกนี้
          ลองหันไปมอง คณะวิทยาศาตร์และสิ่งแวดล้อม ดูสิ ไม่อยากพิทักษ์โลกหน่อยเหรอ

          เคยเรียนไหมวิชา ชีววิทยา......เรื่องอะไรนะ อ๋อ พวกพันธุกรรม พอจะรู้แล้วใช่ไหมว่า
          เดี๋ยวนี้เราทำอะไรได้บ้าง "ตัดต่อยีน" มันเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำลึก เราสามารถมีลูกตามคุณสมบัติที่ต้องการได้เชียวนะ
          เราสามารถมีสัตวเลี้ยงตามที่เราต้องการ เราจะมีเนื้อวัวคุณภาพดีๆกินตลอดเวลา ผักของเราจะไม่เน่าตาย ทนต่อสภาพอากาศ ปลูกได้ทั้งปี
          ทั้งหมดทั้งมวล ด้วยการตัดต่อยีน สิ่งมีชีวิตจะโลดเล่นได้มากมายคล้ายๆกับเกม SPORE เลยล่ะ
          คณะพันธุวิศวกรรม  ไม่อยู่ในสายตาเลยเหรอ

          รู้จัก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC หรือเปล่า ที่มันกำลังจะเปิดอย่างสมบูรณ์ ในปี 2015 น่ะ คุณคิดอย่างไรล่ะ? การที่คนต่างชาติต่างภาษาต้องมาอยู่ในสังคมเดียวกัน พวกเขาจะต้องสื่อสารกันนะ สื่อสารด้วยอะไรล่ะ  ก็ต้อง ภาษา สิ ภาษามากมายเหลือเกิน ภาษาไทย ภาษาเวียดนาม ภาษาพม่า ภาษาลาว ภาษาเขมร แม้ว่าเราจะเขาจะเอาภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง แต่หากสื่อสารด้วยภาษาถิ่นคงจะได้เปรียบกว่า
          พวกมนุษยเวียดนาม มนุษยเขมร ไม่น่าสนใจเลยใช่ไหม

          อะไรอีกล่ะ ลองไปหาข้อมูลหน่อยก็ดีนะ ว่าตลาดสังคมต้องการอาชีพอะไรแล้วจะรู้สึกว่า "โอว้ ทำไมมันมีเยอะแยะอะไรอย่างงี้"


          *แนะนำหนังสือ "Future Career Future Education 3" หรือ "สาขาอาชีพแห่งอนาคต 3"
เขียนโดย อ.วิริยะ ฤๅชัยพาณิชย์ เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อมูลพวกนี้ครับ

          เลือกมาสิ คณะที่เราต้องการเรียนจริง ผมรู้อยู่หรอกว่าไม่ใช่พวกหมอ พวกทันตะ
          คุยกับตัวเองซะ  ทำความรู้จักกับตัวเองหน่อย
          อย่าตลกหน่อยเลย อย่าให้พ่อแม่เลือกให้หรือบังคับเราเลย
          ประกาศให้พวกท่านรู้ ว่าความต้องการของเราคืออะไร
          ฝันของเราคืออะไร เราอยากเรียนอะไร
          การเรียนในสิ่งที่ชอบ มันทำให้เรามีความสุขนะ
          จุดสูงสุดของความฝันเรา คือความสุขไม่ใช่เหรอ??

(พ่อแม่ก็อยากให้เรามีความสุข ทำไมท่านจะไม่เข้าใจเรา ;))

หยุดพยายามเพื่อสิ่งที่ไม่ใช่ฝันเถอะครับ

[ Review ข้อสอบ ] สอบตรงเศรษฐศาสตร์ มธ !!

               วันเสาร์ที่ผ่านมา(17/11/2012) ผมได้มีโอกาสไปสอบรับตรงของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่รังสิต อย่างจะบอกว่าเหนื่อยมาก ในวันนั้น
               คนมาสอบโครงการนี้เยอะมาก มากกว่า 4000 คนเสียอีกแต่รับเข้าแค่ 150 คนเท่านั้น ถือว่าหินพอสมควร สำหรับใครที่หวังน่ะนะอัตราการแข่งขัน 1:26 (ไม่โหดเท่าหมอหรอก) !!
               สำหรับการสอบนั้นมีทั้งหมด 3 วิชาวิชา "คณิตศาสตร์และสถิติ" "ภาษาไทย" และ "ภาษาอังกฤษ"

"คณิตศาสตร์และสถิติ"


               วิชา "คณิตศาสตร์และสถิติ" นั้นถึงจะเพิ่มคำว่า"และสถิติ"เข้าไป มันก็ไม่ได้หมายความว่ามีแต่เรื่องสถิตินะ คือ มันออกหมดทุกเรื่องนั้นแหละ รวมถึงแคลด้วย เพียงแต่จะมีข้อสอบสถิติเพิ่มขึ้นมา ข้อสองข้อ ประมาณว่าเยอะกว่าเรื่องๆอื่น 1ข้อ

               วิชานี้แบ่งเป็นสองพาร์ท คือ ปรนัยกับอัตนัย

               ปรนัยมี 30ข้อ ข้อละ 3 คะแนน ที่น่าสนใจคือหากตอบผิดคะแนน -1 (มั่วไม่ได้ละ)ระดับความยากง่าย ผมว่าไม่ยากเท่าไหร่ อาจจะง่ายด้วยซ้ำ บางข้อมองออกได้ง่ายมาก ประมาณว่าถ้าคุณเก่งในห้องเรียน หมายถึง สอบปลายภาค กลางภาคในโรงเรียนได้คะแนนเยอะน่ะ ข้อสอบชุดนี้ก็ไม่ได้ยากไปกว่ากันเลย

               อัตนัยมีทั้งหมด 6 ข้อ ข้อละ 20 คะแนน...ที่มันเยอะเพราะมันต้องแสดงวิธี ใช่ แสดงวิธีทำ คุณจะต้องเขียนด้วยลายมือของคุณบนกระดาษคำตอบทั้ง 6 แผ่น(ข้อละแผ่น) ตอบผิดไม่ติดลบ ระดับความยากง่าย ถือว่าไม่ยาก อาจจะง่ายกว่าพาร์ทแรก แต่ปัญหาคือแสดงวิธีนี้สิ จะทำกันไม่ได้ หากใครที่ทำการบ้านคณิตศาสตร์ ส่งเองตลอดตั้งแต่ ม4 ไม่น่าใช่เรื่องยาก เพราะแสดงวิธีทำเป็น และคล่อง อาจจะติดๆขัดๆเรื่องที่ยังไม่ได้เรียน(แคล) ก็พอถูไถ อย่างไรก็ตาม หากเข้าใจโจทย์ย่างถ่องแท้ พาร์ทนี้ก็เก็บคะแนนได้อยู่ดี

               ถึงแม้ข้อสอบชุดนี้ มันค่อนข่างง่าย(ง่ายกว่า PAT1 เยอะ) *เพื่อนบอกว่า ความยากประมาณข้อสอบ ent'จนถึงปี 51 + กับแพทรอบแรกปี52 * แต่ปัญหามันอยู่ตรง "เวลา" ให้เวลาทำน้อยมาก เมื่อมันต้องมีการแสดงวิธีทำด้วย เวลาที่ให้คือ 150นาที(2ชั่วโมงครึ่ง)เท่านั้น วิธีกว่าจะแก้โจทย์ ว่าจะร่างวิธีทำ กว่าจะเขียน บางข้อใช้เวลาไปเกือบ 20 นาทีก็มี แล้วไหนยังปรนัย 30 ข้ออีก มั่วไม่ได้ด้วย ดังนั้นนอกจากจะอ่านหนังสือให้เข้าใจแล้วยังต้องทำเวลาและจัดสรรเวลาให้ดี

               ข้อแนะนำคือ อันดับแรกให้ดูข้อเติมคำก่อนว่า ข้อไหนที่เราทำได้ และได้คำตอบชัวร์ เมื่อเลือกได้แล้วก็ร่างวิธีทำ และเขียนเลยทันที ระหว่างทำ อัตนัย ก็แวะไปทำปรนัยบ้าง อย่าเสียเวลากับพาร์ทปรนัยมากเกินไป เพราะคะแนนหลักอยู่ที่พาร์ทอัตนัย ใครทำพาร์ทอัตนัยได้ คะแนนจะกระโดดมาก

"ภาษาไทย"


               ข้อสอบภาษาไทยที่นี้แบ่งเป็นสองพาร์ทคือ ปรนัยและอัตนัย โดยปรนัยมี 20 ข้อ อัตนัย 3 ข้อ เวลา 80นาที(ไม่ทราบคะแนน แต่รู้แค่ว่า อัตนัย 3ข้อ คะแนนเยอะมากๆ)

               ข้อสอบปรนัย 20 ข้อภาษาไทยของข้อสอบที่นี้ ต่างกับภาษาไทยทอื่นเยอะ(ONET 7วิชาสามัญ) เพราะไม่มีภาษาไทยจำพวก"ภาษา"เช่น คำบาลี/สันสกฤต ไล่ตัวสะกด ไล่วรรณยุกต์ คำเป็น คำตาย คำราชาศัพท์  หาคำควบกล้ำ เป็นต้น แต่จะออกพวก "การสื่อสาร" แทนเช่น การฟัง การพูด การเขียน พวกจดหมาย การประชุมก็มีเยอะ และมีบทความ 1 บทความ และให้เราเอาข้อมูลจากบทความมาตอบคำถาม พาร์ทนี้จึงไม่ยากเท่าใดนัก

               มันน่าสนใจและท้าทายตรงนี้ข้อสอบอัตนัย 3 ข้อ

               ข้อแรก เป็นการจับใจความ โดยโจทย์จะให้"ข้อความ"มา 10 ย่อหน้าแล้วให้เราจับใจความทั้ง 10 ย่อหน้านั้นมาเขียนเป็นคำตอบ 1 บรรทัศ

               ข้อสอง เป็นการย่อความ โดยโจทย์จะให้"บทความ"มา 1 บทความและให้เราย่อความให้ได้เหลือแค่ย่อหน้าเดียว

               ข้อสาม เป็นการเรียงความ โดยโจทย์จะให้หัวข้อมาหนึ่งหัวข้อ และให้เรียงความตามหัวข้อที่ได้รับ 1 หน้ากระดาษ

               ยากสุดๆเลยก็ว่าได้ การจะทำได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับทักษะของแต่ละคนที่มีมากแค่ไหนแล้วล่ะ ใครเกลียดการเขียนก็ซวยไป

               ข้อแนะนำคือ ทำข้อ ปรนัยให้หมดก่อน 20 ข้อเองใช้เวลาไม่นาน(อย่าให้เกิน 20 นาที) แล้วข้ามไป พิจารณาหัวข้อเรียงความว่าจะเขียนอย่างไร ใช้เวลาคิด ซัก 2-3 นาที ถ้าคิดไม่ออกก็ไปทำอัตนัยที่เหลือ(จะย่อความหรือจับใจความก่อนก็ได้)แล้วกลับมาคิดออกแบบเรียงความต่อ สลับกัน และ ควรจะทำจับใจความและย่อความให้เร็วที่สุด(ใครอ่านเร็วจะได้เเปรียบ) เพราะจะได้เอาเวลาไปเขียนเรียงความ การเตรียมตัวสอบก็ไม่มีไรมาก ฝึกเขียนบ่อยๆ อ่านบทความเยอะๆ(บทความที่เราสนใจ เช่น ผมสนใจเกม ก็จะอ่านบทความเกี่ยวกับเกมบ่อยๆ)

"ภาษาอังกฤษ"


               จะว่าอย่างไรกับข้อสอบอังกฤษนี้ สำหรับบางคนเรียกได้ว่ายากนรกแตก แต่สำหรับบางคนอาจจะแค่ปลอกกล้วยเข้าปากล่ะมั้ง

               ข้อสอบนี้เป็นปรนัยทั้งหมด 75 ข้อ 150นาที และข้อสอบแบ่งเป็นสองส่วนใหญ่คือ ส่วนคำศัพท์ และส่วนรีดดิ้ง ไม่มีส่วนที่ใช้ความรู้แกรมม่าเลย คำศัพท์จะเป็นพวกความหมายเหมือนกันเกือบหมด จะมีเติมคำในช่องว่าง อะไรประมาณนี้ ใครรู้ก็คือรู้ ไม่รู้ก็จบ

               ส่วนพาร์ทรีดดิ้ง ยากบรม คำศัพท์ออกยากและไม่เคยเห็นเยอะมาก ปกติแล้วผมจะอ่านพวกรีดดิ้งจากบทความต่างๆ ก็จะพอเข้าใจประมาณนึงว่าพูดถึงอะไรอยู่ ทำอะไรที่ไหน อย่างไร ก็พอรู้บ้าง แต่ข้อสอบนี้ไม่ใช่ ผมไม่รู้เรื่องเลยซักนิดเดียว ผมได้แค่อ่านเท่านั้น ไม่รู้ความหมายของมันเลย ก็อย่างที่ว่า ใครรู้ก็ทำได้ ไม่รู้ก็จบ(ที่สำคัญมีทั้งหมด 6 บทความ)

               ถึงผมจะไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษอะไรมากมาย แต่จะมีคำแนะนำอยู่บ้าง คือเเตรียมศัพท์ไปเยอะๆเลย ฝึกการทำให้เร็วด้วย จัดสรรเวลา อะไรทำก่อนหลัง โดยเลือกสิ่งที่ง่ายกว่าทำก่อน ก็ประมาณนี้



               มันก็เพียงเท่านี้แหละ สำหรับการสอบตรงเศรษฐศาสตร์ครั้งนี้ โดยรวมแล้วข้อสอบก็ง่ายระดับนึงคือไม่ยากไม่ง่ายนั้นแหละ แต่ปัญหาคือเวลาอันน้อยนิด และคนสอบเยอะแต่รับนิดเดียว


               ส่วนผมจะติดมั้ย ไม่รู้เลยซักนิด ข้อสอบอังกฤษผมทำแทบจะไม่ได้เลย(บอกว่าทำไม่ได้เลยก็น่าจะไม่ผิด) ข้อสอบภาษาไทยผมพอไหว ทำเสร็จหมด เรียงความก็งั้นๆ ภาษาผมทั้งนั้น(ไม่มีเวลาแต่งภาษาทางการ) ลายมือก็ลายมือปกตินี่แหละ(ต้องเข้าห้องแล๊บ ชันสูตรโดยทีมงานวิจัยอันดับหนึ่งของโลก ถึงจะอ่านออก) คณิตศาสตร์ทำไม่ทัน(แน่นอนอยู่แล้ว) ปรนัยเว้นว้างไว้ประมาณ5ข้อ ส่วนอัตนัยทำผิดแบบจังๆ1ข้อ และวิธีทำก็มั่วแหลก ตามที่หัวคิดเป๊ะ ไม่แต่ง ไม่เติม


โชคดีล่ะกันครับ ^ ^

3ความเครียดสำหรับเด็กแอด


          น่าเห็นใจหลายคนนะ กำลังเครียดอยู่ บางคนก็เครียดหนักเลย บางคนก็เครียดน้อย แต่ก็คงไม่มีใครหรอกที่ไม่เครียด(ผมก็เครียดเหมือนกัน) นั่นสินะ ก็เราอยู่ ม.6 แล้วเป็นช่วงเวลาที่จะต้องเลือกคณะเลือกมหาลัย ซึ่งสำคัญต่ออนาคตของพวกเราทุกคน

          เหตุผลที่เครียดนั้นก็มีมากมาย บางคนก็กลัวไม่มีที่เรียน บางคนก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองอยากเข้าคณะอะไร บางคนก็โดนผู้ปกครองบังคับให้เรียนนั่นนี่ ผมว่าปัญหาของเครียดหลักๆคงไม่พ้นสามตัวนี้หรอก บางคนก็เครียดทั้งสามเรื่องเลยก็มี

          เรามาพูดถึงความเครียดทั้งสามอย่างนั่น รวมถึง วิธีการแก้ปัญหาความเครียดเหล่านั่นกัน เพราะความเครียดไม่ใช่เรื่องดีหรอก

                    ความเครียดทั้งสามนั่นก็คือ
                              1 ความเครียดที่เกิดจากความกลัวว่าจะไม่มีที่เรียนในระดับมหาวิทยาลัย
                              2 ความเครียดที่่เกิดจากยังไม่รู้ว่าจะเรียนต่อคณะอะไรดี
                              3 ความเครียดที่เกิดจากโดนบังคับเรียนในสิ่งที่ไม่ต้องการจะเรียน


1 ความเครียดที่เกิดจากความกลัวว่าจะไม่มีที่เรียนในระดับมหาวิทยาลัย



          ก่อนอื่นเรามาพูดความเครียดที่เกิดจากความกลัวไม่มีที่เรียน ความเครียดนี้ก็จากอะไรหลายอย่างอยู่เหมือนกัน แต่อย่างหลักๆเลยคือ "การสอบ" เวลาที่มหาวิทยาลัยจะคัดเลือกบุคคล เข้าไปศึกษาต่อแทบร้อยทั้งร้อยใช้การสอบทั้งนั้น ( บางมหาวิทยาลัยไม่มีจัดการสอบ แต่ก็นะ ค่าเทอมแพงอยู่ดี ) สิ่งนี้แหละทำให้เกิดความกลัวไม่มีที่เรียน เพราะกลัวว่าจะสอบไม่ได้

          วิธีการปัญหาข้อนี้ พูดตรงๆคือ "ก็ไปอ่านหนังสือซะสิ ยิ่งกลัวมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องอ่านมากขึ้นเท่านั้น" มันก็เป็นวิธีที่ถูกต้อง เพราะการที่จะสอบได้ จะต้องเตรียมความรู้ การจะเตรียมความรู้ไป ก็ต้องอ่านหนังสือ แต่การพูดแบบนี้นมันไม่ได้ทำได้ง่ายๆ เพราะการที่จะอ่านหนังสือได้ ต้องใช้ความพยายามพอสมควร ต้องสู้กับความขี้เกียจ ต้องสู้กับเนื้อหาที่น่าเบื่อหรือไม่ชอบ ต้องสู้กับเวลาที่เหลืออันน้อยนิด นั้นทำให้การอ่านหนังสือเป็นเรื่องยาก

          คือแน่นอนเลยว่าเราจะต้องอ่านหนังสือ วิธีการที่ดีที่สุดที่จะทำให้เราอ่านหนังสือ คือ เราต้องมีเทคนิค เทคนิคของแต่ละคนจะเหมือนกัน เราจะต้องหาเทคนิคของเราให้เจอ เพื่อที่จะอ่านหนังสือได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด แม้เวลาจะเหลือน้อยหรือเกรงว่าจะอ่านไม่ทัน เราจะต้องจัดแจงเวลาการอ่านของเราให้ดีที่สุด และลงล๊อคที่สุด ถ้าอ่านไม่ทันจริงๆ ก็เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อหลักๆ อ่านให้เข้าใจให้มากที่สุด

          การกวดวิชา สามารถแก้ไขปัญหาข้อนี้ได้ และเป็นวิธีที่ดีที่สุด หากเราเข้าเรียนครบทุกครั้งตามคอร์ส ทำการบ้านที่ติวเตอร์แนะนำให้ทำ เราจะมีความรู้ที่พร้อมสอบแทบจะ 100% แล้วล่ะ ฝึกฝนโจทย์ และทบทวนนิดหน่อย ก็เดินเข้าสนามสอบได้อย่างมั่นใจแล้ว แต่ปัญหาคือ คนส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าเรียนทุกคาบ บางคนโดดบ่อยมากถึงมากที่สุด บางคนสมัครไว้เฉยๆแล้วไม่ได้ไปเรียน (อยากจะฝากน้องๆที่สมัครเรียน เข้าเรียนทุกคาบด้วย) และการบ้านก็ไม่ได้ทำ (การไม่ได้ทำการบ้านคือการไม่ได้ทบทวน หากไม่ได้ทบทวนเราก็จะลืมเนื้อหาที่ได้เรียน ถ้าลืมก็เท่ากับว่าไม่มีความรู้น่ะสิ) อีกปัญหาหนี่งก็คือ การเรียนที่อัดมากเกินไป บางคนเรียนมากถึง 10ชั่วโมงต่อวัน ร่างกายมีขีดจำกัด การอดทนเรียนพอผ่านๆ ไม่ได้ช่วยให้มีความรู้มากขึ้นหรอก

          เกือบจะร้อยทั้งร้อย ที่ไปกวดวิชาแล้ว โดดบ้างล่ะ ไม่ทำการบ้านบ้างล่ะ เรียนมากเกินไปบ้างล่ะ(ผมด้วยเช่นกัน) แน่นอนความรู้ที่ได้รับอาจจะไม่ได้เลยก็เป็นได้ ดังนั้นต้องหวังพึ่งการอื่นหนังสือแล้วล่ะ นั่นคือทางเดียวในตอนนี้ อ่านหนังสือให้มากๆ เตรียมความพร้อมให้มากๆ คุณจะไม่ต้องเครียดในข้อนี้อีกต่อไป อดทนอ่านหนังสือ เพื่อนอนาคตนะครับ :)

2 ความเครียดที่่เกิดจากยังไม่รู้ว่าจะเรียนต่อคณะอะไรดี เพราะยังไม่ค้ณพบความต้องการของตัวเอง



          ความเครียดข้อนี้ค่อนข้างจะแก้ไขยากนิดหน่อย การค้ณพบตัวเองควรจะค้ณพบให้เร็วมากที่สุด การที่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรตั้งแต่ยังเล็กเลยยิ่งดี จะบอกว่านี่เป็นปัญหาสังคมก็น่าจะไม่ผิด เพราะสังคมไทยในปัจจุบันไม่ค่อยที่จะสนับสนุนให้เด็กค้ณพวตัวเองเลยนี่นะ

          ทำไมผมถึงโทษสังคม? มันก็จริงล่ะนะ ลองคิดดูละกันตั้งแต่เกิดมา คุณโดนคุณแม่หรือคุณพ่อปลูกฝังอะไรมา "โตขึ้นอยากเป็นอะไร" "เป็นหมอครับ" "โตขึ้นลูกต้องเป็นตำรวจให้ได้นะ" "เป็นครูนั้นแหละดีที่สุดแล้ว" ด้วยการที่ปลูกฝังอยู่แค่นั้นและไม่หาพรสวรรค์ หรือความสามารถของลูกเลย นั่นก็ทำให้เค้าไม่ค้ณพบตัวเอง หรือค้ณพบช้าเกินไป หรือแม้แต่โรงเรียนก็ไม่ทำการค้ณหาพรสวรรค์ของเด็ก หรือมีน้อยนักที่จะทำการค้ณหา

          เป็นหน้าที่ของเราที่ผ่านพ้นช่วงเวลานั่นมาแล้ว เราจะต้องค้ณพบตัวเองให้เจอ โดยการสั่งสมประสบการณ์ให้มากที่สุด ลองไปเที่ยวค้ณหาประสบการณ์ใหม่ๆ ลองทำนู่น ทำนี่เช่น ลองทำอาหาร ลองแต่งหนังสือ เล่นกีฬา เล่นดนตรี วาดภาพ ลองหาไปทัวร์คณะนู่นนั่นนี่ว่าคณะพวกนี้เรียนอะไรอย่างไร ลองไปดูการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ลองไปทำงานกับพ่อหรือแม่ อะไรประมาณนี้ ยิ่งมีประสบการณ์มาก ยิ่งจะค้ณพบตัวเองได้เร็ว การที่เราจะพบก็คือ เราได้ทำกิจกรรมไหนแล้วเรารู้สึกชอบ มีความสุขกับมันมากที่สุด มีความสุขที่ได้ทำ หรือซาบซิ้งในผลที่เกิดขึ้น หรือเกิดความประทับใจ นั่นทำให้เรารู้แล้ว ว่าเราต้องการอะไรในชีวิต ทำให้ตัดสินใจเข้าคณะอะไรก็ตามได้อย่างไม่ลังเล

          คุณไม่ต้องห่วงหรอกว่า หากได้ค้ณพบแล้วว่าต้องการเรียนคณะนี้แล้ว พอไปเรียนกลับไม่ใช่ตัวฉันเสียนี่ ไม่เป็นอะไรเราก็แค่ซิ้วซะ เพราะมัวอดทนเรียนกับสิ่งที่ไม่ใช่มันเสียเวลาปล่าว รีบๆซิ้วไปเลยดีกว่า

3 ความเครียดที่เกิดจากโดนบังคับเรียนในสิ่งที่ไม่ต้องการจะเรียน โดยรู้แล้วว่าเราต้องการเข้าคณะอะไร



          แน่นอนคนที่บังคับเราคือผู้ปกครองหรือพ่อกับแม่นี่แหละ พวกเขาอาจจะไม่ได้บังคับตรงๆหรอก อาจจะบอกว่า "เรียนอะไรก็เรียนไป" พอเราบอกจะเรียนอันนั้น อันนี้ กลับแสดงความไม่พอใจซะงั้น หรือกดดันโดยวิธีสารพัดเพื่อที่จะให้เราเลือกคณะที่พวกเขาต้องการ

          การที่ได้เรียนในคณะที่ไม่ต้องการ การที่ได้เรียนในสิ่งที่ไม่อยากเรียน จะทำให้เราไม่เรียน เพราะมันน่าเบื่อ ก็คนมันไม่ชอบอ่ะ แล้วจะให้เรียนได้ยังไง โอเค เราสามารถอดทนเรียนไปจนจบได้ แต่ทำงานล่ะ เราจะต้องเจอกับมันไปทั้งชีวิตเลยเชียวนะ ทั้งเบื่อ ทั้งทรมาณเชียวล่ะ ตรงกันข้ามกับการได้เรียนในสิ่งที่ชอบ มีความสุขที่ได้เรียน มีความสุขที่ได้ทำงาน เรื่องเงินอาจจะมาเอี่ยวด้วย แต่ผมว่าการที่เราได้ทำงานในสิ่งที่ต้องการจะทำจริงๆ มันจะทำให้เรื่องเงินเป็นเรื่องเล็กๆ

          เชื่อเถอะว่า ถึงจะเราจะอดทนเรียนในสิ่งที่โดนบังคับเรียนไปจนจบ หรือทำงานไปแล้ว เราจะต้องเปลี่ยนงานทำอย่างแน่นอน เพราะคนเราทนได้ไม่นานหรอกกับการไม่มีความสุข ทำไมเราถึงเปลี่ยนได้ เพราะเรามีเงินเป็นของตัวเองแล้วนี่ แน่นอนช่วงเวลาที่เราเรียนในสิ่งที่ตนไม่ชอบที่ผ่านมา จะเป็นการเสียเวลาซะเปล่าเนี่นสิ คุณอยากเสียเวลา 5-6ปีไปกับความทุกข์งั้นเหรอ

          ก่อนที่จะแก้ปัญหานี้ เราต้องรู้ก่อนว่า "ทำไมเราถึงเลือกคณะนี้" เลือกเพราะอะไร ชอบจริงๆหรือเปล่า เป็นสิ่งที่ต้องการจริงๆแล้วใช่มั้ย หากเข้าไปแล้วจะต้องมีความสขแน่นอนใช่มั้ย หากเราตอบได้ว่า "ใช่นี้แหละ คณะที่ฉันเลือก เรียนแล้วจะต้องมีความสุขแน่ๆ" โอเคคุณพร้อมแล้วที่จะแก้ไขปัญหา

          สิ่งที่จะต้องเข้าใจก่อนเลยคือ เหล่าผู้ปกครองไม่ได้หวังร้ายกับเรา พวกเขาก็อยากเห็นเรามีความสุขเหมือนกับเรานี่แหละ ดังนั้นหน้าที่ของเราคือจะต้องทำให้พวกเขาเข้าใจให้ได้ว่า "นี่แหละเป็นสิ่งที่เราทำแล้วมีความสุขจริงๆ ไม่ใช่ที่บังคับเข้าซะหน่อย" มันอาจจะยากหน่อย อาจเกิดถึงขั้นทะเลาะกันเลย แต่ก็นะ เพื่อตัวเราเอง

          *เฮ้ ผู้ปกครอง ก็อยากให้เรามีความสุขเหมือนกันนั้นแหละ

          พวกเราโตแล้ว มีความคิดเป็นของตัวเองเรียบร้อย การที่รู้ว่าเราต้องการอะไรในชีวิตนั้นแหละคือโตแล้วล่ะ เราไม่มีทางที่จะอยู่กับผู้ปกครองไปตลอดชีวิต เราจะต้องยืดหยัดด้วยลำแข้งของตัว หากเรายังต้องให้พ่อแม่เลือกคณะให้อยู่ เรื่องสำคัญที่สุดของตัวเรายังให้คนอื่นจัดการให้ เราอาจจะตัดสินใจเองอะไรที่มันสำคัญๆไม่เป็นเลยก็ได้ สิ่งเหล่านี้คือก้าวแรกสู่การเป็นผู้ใหญ่

          คณะที่คุณเลือกอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีพอในความคิดของพ่อแม่ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามมันคือชีวิตของคุณ จะให้ใครมารับผิดชอบ แน่นอนต้องตัวคุณอยู่แล้ว หากเลือกเส้นทางบัดซบนี่โดยตัวคุณเอง ตัวคุณเองจะต้องรับผิดชอบความบัดซบที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ผู้ปกครอง ผู้ปกครองทำได้แค่สนับสนุนเราเท่านั้น

          ดังนั้นเราจะต้องทำให้ผู้ปกครองเข้าใจให้ได้ โดยการนำเหตุผลมาพูดคุยกัน เหตุผลที่เราต้องหามาเอง ไม่ว่าจะความก้าวหน้าของงาน หรือด้านดีๆต่างของคณะนี้ และโดยเฉพาะความชอบ การเรียนแล้วมีความสุข คณะนี้ใช่ ที่สำคัญที่สุดคืออย่าใช้อารมณ์โดยเด็ดขาด ต้องพูดคุยกันดีๆ นั่นคือวิธีแก้ปัญหาความเครียดข้อนี้

          เห็นได้ว่าความเครียดเหล่านี้มีทางแก้ในตัวของมัน มันอาจจะยากเกินไป แต่มันก็เป็นปัญหาที่ควรจะแก้ไข ปล่อยไว้มันอาจจะเกิดเรื่องไม่ดี เรื่องการผิดหวัง หรือความผิดพลาดก็เป็นได้ เราไม่ควรจะละเลยทั้งสามปัญญหา นั่นเป็นหน้าที่ของเรานอกจากการเรียนหนังสือระดับ ที่จะต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้ และต้องแก้ไขโดยตัวเราเอง ปัญหาเหล่านี้เกิดกับแต่ละคนไม่เท่ากันบางคนมีผู้ปกครองที่เข้าใจ บางคนค้ณพบตัวเองตั้งแต่เด็ก บางคนสนใจการเรียนตั้งแต่เนิ่นๆ นั่นก็เป็นความโชคดีของเขา สำหรับเราที่เกิดปัญหา ก็จะต้องแก้ไขมัน เพื่อที่จะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ หรือทำตามความฝันที่ตัวเองตั้งไว้ และมีความสุขในที่สุด :)



          ที่ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมา ไม่ใช่อะไรหรอก ไม่อยากเห็นทุกคนเครียดก็เท่านั้น ไม่ว่าอย่างไรก็ตามบทความนี้ก็เกิดขึ้นจากความคิดของผมเพียงคนเดียว อ่านแล้วอย่าพึ่งเชื่อไปซะหมดล่ะ ต้องคิดและพิจารณาอีกนึงนะครับ อ้อ อาจจะมีผิดพลาดเช่น พิมพ์ตกหล่น บ้าง ก็เตือนๆกันบ้างนะครับ :)

อ่านให้เข้าใจ ไม่ใช่สักแต่อ่าน


         บางคนเวลาจะอ่านหนังสือกับขี้เกียจ ไม่อยากอ่าน แต่ก็ต้องอ่านเพราะมันสำคัญกับชิวิตมากถึงงขนาดที่ว่า ไม่อ่าน = ตาย แล้วเราทำอย่างไร จะอ่านอย่างไร เนื้อหาความรู้ก็มีซะเยอะแล้วยังเข้าใจยากอีกด้วย เราจะอ่านผ่านมันไปให้หมดๆไปแล้วดีไหม แล้วบอกตัวเองว่าอ่านแล้ว แล้วก็จบไป หรือ อ่านมันจนกว่าจะเข้าใจล่ะ  สำหรับผมแน่นอนอยู่แล้วต้องเลือกอ่านมันจนกว่าจะเข้าใจอย่างแน่นอน :D



         เพราะการอ่านมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับชั่วโมงการอ่านหรอก แต่มันขึ้นอยู่กับว่าเรา "อ่านอะไร" "เข้าใจแค่ไหน" "จำอะไรได้บ้าง" "ฝึกจนคล่องหรือยัง" หรือก็คือความเข้าใจเนื้อหา ไม่ใช่ "หน้านี้อ่านแล้ว" "โจทย์นี้เคยดูเฉลยแล้ว" "บทนี้เคยฟังแล้ว" "อ่านผ่านไปแล้วชั่งมัน" แล้วก็ข้ามๆไป แบบนี้เขาเรียกว่า "สักแต่อ่าน" ไม่ได้เข้าใจหรอก

         การสักแต่อ่านมันไม่ได้ช่วยอะไรเราเลยด้วยซ้ำ อย่างมากก็ช่วยแค่ทำให้นึกออกเท่านั้นว่าเคยอ่านผ่าน การกระทำแบบนี้อาจจะเรียกอีกอย่างว่าได้ว่า "หลอกตัวเอง" และอย่างที่รู้ๆกันว่าการหลอกตัวเองเป็นอย่างไร ดังนั้นอย่างหลอกตัวเองเลยครับ ไม่เข้าใจคือไม่เข้าใจครับ

         แล้วจะต้องอ่านหนังสืออย่างไร อันดับแรกเลยอย่าหลอกตัวเอง อย่าสักแต่อ่าน ไม่เข้าใจคือไม่เข้าใจ แล้วสนใจเนื้อหาที่อ่าน ขณะอ่านก็นึกคิดนึกตาม เราอ่านเรื่องอะไรไปบ้างแล้ว ได้อะไรไปบ้าง สรุปสิ่งที่ได้มา(ทำเป็นบันทึกเล่มเล็กๆก็ได้ช่วยได้มากเ) และหลังจากอ่านเสร็จประเมินตัวเองโดยการทดสอบกับตัวเอง อาจจะทำข้อสอบเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ผิดถูกไม่เป็นไร หากเราทำผิดเราต้องมาดูว่า  บกพร่องตรงไหน ทำไมถึงพลาดได้? ลืมตรงไหนก็กลับไปอ่านซะ แบบนี้จะได้ประโยชน์จากการอ่านมากที่สุด เพราะเราจะเข้าใจมากที่สุด การอ่านหนังสือแบบนี้แหละที่เขาเรียกว่า "การอ่านหนังสือ" อาจจะทำได้ยากกับวิชาที่ไม่ชอบ แต่ก็ลองเปิดใจดู วิชาแต่ละวิชาก็มีสิ่งที่น่าสนใจต่างๆกัน

         เมื่อเราสามารถทำการ "การอ่านหนังสือ" ได้แล้ว เราควรจะทำทุกวัน อย่าให้ขาด เอาให้สม่ำเสมอ วันเว้นวันก็ได้ ขอให้สม่ำเสมอเป็นพอ เพื่อทำให้ใจที่ยังคงอยากอ่านนี้ยังอยู่ เพราะในวันนึงเรามีเวลาจำกัดในการอ่าน บางคนอ่านได้แค่ 2ชั่งโมงบางคนมากกว่านั้น และด้วยเวลาอันน้อยนิดนั้น ไม่สามารถทำให้เราเข้าใจเนื้อหาบทนึงได้ทันทีหรอก มันต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหลายวัน หากเราขาดช่วงไปล่ะ ซวยล่ะสิ ความอยากอ่านหายวับ

 

         เวลาจะตั้งเป้าอ่านหนังสือ อย่าตั้งเป้าว่า "วันนี้อ่านสามชั่วโมงพอ" "วันนี้อ่าน 10-20 หน้าพอ" การตั้งเป้าแบบนี้ก็คล้ายกับสักแต่อ่านนั้นแหละ ถ้าเกิดหมดเวลา 3 ชั่วโมงล่ะ?? หยุดเหรอ?? ทั้งๆที่ยังไม่เข้าใจเนี่ยนะ?? ขอเน้นย้ำอีกครั้งการอ่านหนังสือนั้นจะต้องทำให้เข้าใจมากท่สุด ไม่ใช่อ่านให้มากที่สุด ดังนั้นเราควรจะตั้งเป้าเป็น "วันนี้จะต้องเข้าใจเรื่องนี้ให้ได้" "วันนี้จะต้องจำสูตรนู่นนั้นนี่ให้ได้"

         นอกจากการอ่านให้เข้าใจแล้ว หากอยากอ่านหนังสือได้นานๆ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราก็จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า "เทคนิค" มันคืออะไร เรื่องของเทคนิค มันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนสามารถอ่านหนังสือได้ดีกว่า หากอยู่ในที่บรรยากาศเงียบสงบ ในขณะที่อีกคนอ่านหนังสือได้เข้าใจมากกว่าเมื่อเปิดลำโพงเสียงดังกระหึ่ม บางคนชอบอ่านในเวลาที่ฝนตก บางคนต้องกินขนมไปด้วย บางคนต้องท้องอิ่มๆถึงจะอ่านได้ บางคนต้องอ่านในห้องน้ำ บางคนต้องเปิดทีวีไปด้วย ฟังเพลงไปด้วย บางคนต้องมีคนคุยด้วยถึงจะอ่านได้ดี บางคนต้องเล่นเฟมเล่นเฟซไปด้วยถึงจะอ่านหนังสือได้เข้าใจ เห็นไหมว่าเอกลักษณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราก็จะต้องหาเอกลักษณ์หรือเทคนิคของเราให้เขอว่าเราชอบแบบไหน บรรยากาศอย่างไร ถึงจะอ่านหนังสือให้เข้าใจมากที่สุด

         เพราะเหตุนี้เอง บางคนอ่านหนังสือน้อยแต่กลับทำคะแนนได้มากกว่าเรา เพราะเขาอาจจะอ่านแบบเข้าใจก็ได้ หรือมีเทคนิคเฉพาะตัว ในขณะที่เราอ่านไปมากมาย แต่ก็ยังทำคะแนนน้อย เราต้องมาดูว่า เราหลอกตัวเองหรือเปล่า เรามีเทคนิคอะไรไหม(ถ้าไม่มีก็ลองไปถามคนที่อ่านหนังสือเก่งๆ)  ลองเปลี่ยนพฤติกรรมการอ่านหนังสือดูสิ เราจะได้มีคะแนนสอบมากขี้น แล้วยังใช้เวลาการอ่านน้อยลง และยังสนุกกับมันอีกด้วย

         จากที่ร่ายมาทั้งหมด สิ่งสำคัญสำหรับการอ่านหนังสือคืออะไร คงจะรู้กันพอสมควรแล้ว นั่นคือ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ "ความเข้าใจ" ในเนื้อหาที่อ่าน(หรืออาจจะรวมเทคนิคด้วยก็ได้) ไม่ใช่ปริมาณการอ่านแต่อย่างใด เพราะความเข้าใจนี่แหละ จะช่วยให้เราทำข้อสอบได้แทบจะทั้งหมดเลยล่ะ :D


***ไม่ใช่ "พยายามอ่านหนังสือ" แต่เป็น "พยายามเข้าใจ"

ผมอยากเรียนเศรษฐศาสตร์ครับ



               เหตุผลเพราะเรียนกับ ครูคนนึง ที่สอนเรื่องนี้ เมื่อตอนปิดเทอมใหญ๋แล้วติดใจอ่ะ มันเหมือนกับค้ณพบแล้วสิงที่ผมอยากเรียนจริงๆ ที่มั่นใจขนาดนี้เพราะอารมณ์ตอนเรียนเศรษฐศาสตร์ มันคนละเรื่องกับเรียนพวกสายวิทย์เลย ผมอาจจะชอบมันมาตั้งนานแล้วก็ได้ แต่เพิ่งรู้ตัว ฮ่าๆ วิชานี้แหละ ใช่ สิ่งที่ผมต้องการรู้คือเจ้านี้ สิ่งที่ผมต้องการใช้ในอนาคตไม่ใช่วิทยาศาสตร แต่เป็นคณิตศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ต่างหาก !!


               วิทย์ก็เรียนมาตั้งเยอะแยะ นี่จะทิ้งหรอกเหรอ ใช่แล้ว ผมจะทิ้งมันทั้งหมดเลย และไม่รู้สึกเสียดายด้วย เพราะ ผมไม่รู้สึกอยากจะเรียนมันอีกต่อไป โอเค เก็บไว้สอบบ้าง พอสอบแล้วก็ลืมๆไปซะ ที่ผมไม่เสียดายเพราะผมคิดว่าความรู้แค่เท่าที่ผมรู้เนี่ย มันเป็นส่วนเล็กๆ ส่วนน้อยนิด ไม่ถึงเสี้ยวของความรู้วิทย์ทั้งหมดเลยด้วยซ้ำ แต่มันก็เป็นพื้นฐานในขั้นสูงต่อไป แต่ในเมื่อผมไม่อยากเรียนสายนี้แล้ว ผมจึงสามารถทิ้งความรู้พวกนี้อย่างไม่เสียดาย

               ไม่รู้สิพวกสายวิทย์ผมว่ามันงั้นๆอ่ะ ไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหร่ เวลาเจอวิทยาการใหม่ๆ ผมมักจะสนใจแค่ว่า มันทำอะไรได้บ้าง ไม่ได้สนใจเลยว่า มันทำได้ยังไง มันทำให้การเรียนพวกวิทย์มันน่าเบื่อไปเลย ข้อสอบก็ง่ายแทนสูตรๆ ชิ้งๆๆ จบ เรียนเรื่องใหม่ๆก็ไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นอะไรอีกแล้ว

               ต่างกับตอนเรียนเศรษฐศาสตร์โดยสิ้นเชิง ผมรู้สึกอิ้งนะว่า ว้าว มันเป็นแบบนี้เหรอมันอธิบายได้ด้วยเหรอ กลไกแบบนี้มันเป็นแบบนี้จริงๆเหรอ ผมอยากจะเข้าใจมันแบบหมดเปลือกเงินเฟ้อ เงินฝืด ทำไมของราคาเพิ่มราคาลด กลไกตลาด อุปสงค์ อุปทาน เกี่ยวอะไรกับการลงทุน

               ความจริงแล้วเรียนเศรษฐศาสตร์ก็เหมือนกับพวกเรียนวิทย์นั้นแหละ แต่องค์ความรู้ต่างกันเท่านั้น เพราะเศรษฐศาสตร์ ก็เรียนไปเพื่อจะอธิบายปรากฏการณ์เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ (แต่นี้ไม่ใช่ความหมายจริงๆของเศรษฐศาสตร์หรอกนะ) เหมือนกับวิทย์ที่เรียนไปเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์กับนักเศรษฐศาสตร์ก็คล้ายๆกัน แค่เรียนเรื่องที่ต่างกันและอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นต่างกัน เท่านั้นเอง นักเศรษฐศาสตร์จึงต้องหัวดีพอๆกับนักวิทยาศาสตร์เลยนะ

               อีกอย่างก็คือ ผมรู้สึกว่า เศรษฐศาสตร์มันสามารถใช้ได้จริงในสังคมเลยล่ะ ผมสามารถใช้ความรู้ด้านนี้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ถ้าผมเรียนลึกซึ้งกว่านี้คงจะสุดยอดไปเลยว่าป่ะ สามารถอธิบายอะไรหลายๆอย่างที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในเศรษฐกิจในชีวิตจริงหรือเกมก็ยังได้ ผมว่ามันเจ๋งโครตๆ ต่างกับความรู้สึกของผมที่มีต่อสายวิทย์ ที่ผมไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้จริงได้ยังไง

               แต่ความจริงอันโหดร้ายที่เกิดขึ้นก็คือ เรียนเศรษฐศาสตร์ แมร่งตกงาน ผมว่าจริงแท้แน่นอน เห็นในหลายๆบอร์ด ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตหลายๆที่  ฃทำให้ผมค่อนข้างที่จะหวั่นไหว ก็เลยคิดว่าเลือกในสิ่งที่ ไม่ตกงาน และใกล้เคียงกันนั้นก็คือ "บัญชี" เพราะมีข้อมูลมาบอกว่า เรียนบัญชีไม่ตกงานแน่นอน แต่ก็ไม่จริงเสมอไปอีก มีคนบอกว่า ถึงจะเรียนบัญชีก็ตกงานได้นะ ถ้าไม่ไดเรียนสายวิทย์สุขภาพยังไงก็ตกงาน

               ในเมื่อเรียนอะไรก็ตกงานกันไปหมด ดังนั้นเลือกอันที่ชอบเลยดีกว่า นั้นทำให้จุดสุดยอด...เป้าหมายสูงสุดคือเรียน "เศรษฐศาสตร์" ส่วน "บัญชี" นั้นก็รองลงมา

               จากที่กล่าวทั้งหมด ผมสามารถสรุปได้เลยว่า เจ้านี้แหละที่ผมเลือกจะเรียนต่อในระดับมหาลัยต่อไป ถึงจะรู้ตัวช้าไปซักหน่อยก็ตาม ด้วยเหตุต่างๆเหล่านี้้เอง ผมจึงเลือกเรียน "เศรษฐศาสตร์"  ครับ :D

ใครๆก็เริ่มจากผลงานห่วยๆทั้งนั้น



               อยากเป็นนักเขียนครับ ผมอยากเป็นนักเขียน ผมตะโกนออกไปดังๆ ประกาศตัวเองตรงนี้ เพื่อเหล่าประชาชีได้รับทราบ และเมื่อประกาศออกไปแล้วก็ต้องรับผิดชอบด้วยล่ะ รับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองยืนยัน

               แต่อย่างไรก็ตามแค่ตะโกนออกไปดังๆแค่นั้น ไม่ได้ช่วยอะไรมากไปกว่าเรียกพลังเท่านั้น เพราะจะเป็นนักเขียนก็ต้องเขียน ดังนั้นเขียนออกมาเลย เขียนไปตามที่ใจคิด ไม่ต้องกลัวหรอกว่าผลงานเขียนของเรามันจะห่วย  คนที่ทำให้ผลงานชิ้นแรกแล้วดีเลิศเพอร์เฟคน่ะ มีแต่คนที่มีพรสวรรค์มาตั้งแต่เกิดเท่านั้น ดังนั้นจงเขียนซะ

               เขียน...ว่าแต่จะเขียนอะไร เรื่องนี้ตอบยากนะ เพราะว่านักเขียนทุกคนก็เขียนไปตามใจตัวเองทั้งนั้น บางคนชอบอ่านนิยาย ก็เขียนนิยาย บางคนชอบอะไรที่มันเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ บางคนอยู่เมืองนอก ก็เขียนเล่าว่าการอยู่ที่นั้นเป็นอย่างไร บางคนไปประสบกับสิ่งที่ไม่คาดฝัน ก็เขียนเล่ากัน บางคนรู้เรื่องนู่นนั้นนี่มาก ก็เขียนในสิ่งที่ตนรู้ออกมา บางคนจินตนาการสูง ก็เล่าจินตนาการออกมาในรูปของการเขียน .....ประมาณว่าเขียนตามใจตัวนักเขียนนั้นเอง

               เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะเดินทางบนเส้นทางนักเขียน ก็จะต้องยอมรับในสิ่งที่นักเขียนหน้าใหม่จะประสบพบเจอ คือ ผลงานชิ้นแรกที่แสนห่วย และ ผลงานชิ้นต่อไปก็ยังห่วย ต่อไปก็ห่วย ห่วยๆๆๆๆ ........ เหตุผลที่มันห่วยตลอดเพราะเราเป็นนักเขียนหน้าใหม่? ถูกแล้วล่ะ เราเป็นนักเขียนหน้าใหม่ อย่าแปลกใจและอย่าเพิ่งน้อยใจ ดูอย่างนักกีฬาอะไรก็ได้ นักกีฬาพวกนั้นตอนเล่นๆแรกมันก็ต้องห่วยสิถูกมั้ย เล่นเทนนิสตีลูกไม่โดนบ้างล่ะ เล่นฟุตบอลเตะเข้าประตูตัวเองบ้างล่ะ นั้นก็คือมันไม่แปลกเลยซักนิด ที่ครั้งแรกมันจะห่วยบรม

               ถ้าอยากเป็นนักเขียนมือฉบัง เขียนอะไรไปใครๆก็ให้ความสนใจ สิ่งที่จะต้องทำคือ "ฝึกฝน" ฝึกฝนสำหรับนักเขียนคืออะไร นั้นคือ "อ่าน" เยอะๆ และ "เขียน" เยอะๆ ทำไมถึงต้องอ่าน เราอ่านเพื่อดูว่าคนอื่นนั้นเขียนอย่างไร อาจจะศึกษาการใช้ภาษา หรืออื่นๆ คล้ายๆกับเก็บประสบการณ์ ถ้าเทียบกับการเล่นกีฬาหรือการเรียนก็คือ เรียนภาคทฤษฏี ส่วนการเขียนนั้นก็เหมือนภาคปฏิบัติ ลงมือทำจริง มันถึงจะเห็นผล

               แต่ก็ใช่ว่าฝึกแค่เดือนสองเดือนจะเป็นนักเขียนได้โดยทันที อาจจะเวลาฝึกหลายปีเสียด้วยซ้ำ ดังนั้นต้องคอยรับมือในเรื่องนี้เอาไว้ เพราะเราไม่สามารถที่จะอยู่ได้ทั้งปีโดยไม่มีเงิน เป็นผลให้นักเขียนจะต้องมีงานทำ จะเป็นงานอะไรก็ได้ทั้งนั้นที่จะพอกินไปทั้งปีหรือจะเป็นงานที่ชอบก็ได้ แต่ไม่ต้องกลัวไม่มีเวลาเขียนหรอกนะ เพราะนักเขียนส่วนใหญ่เขาก็ใช้เวลาว่างนี้แหละเขียน

               อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดที่นักเขียนจะต้องมีคือ การมีความสุขและความสุขกับการเขียน มันเป็นคุณสมบัติสำคัญเลยล่ะ ถ้าเขียนแล้วไม่มีความสุข ก็ไม่ต้องมาเป็นนักเขียนหรอก ไปเป็นอย่างอื่นเลยดีกว่า

               เห็นได้ว่าการเป็นนักเขียนมันไม่ใช่เรื่องยากมากมาย และก็ไม่ใช่เรื่องง่ายจนเกินไป เพียงแค่มีความมุ่งมั่นจริงก็เป็นนักเขียนได้ ที่ผมเขียนไปทั้งหมดในบทความนี้เป็นสิ่งที่ผมมองนักเขียนในมุมของผมเอง อย่าเชื่อไปซะหมดล่ะ และที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ คือผลงานชื้นห่วยบรมของผมอยู่ เพราะมันคือผลงานขิ้นแรก ต้องขอบคุณมากจริงๆเลยครับที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ ขอบคุณสำหรับความอดทนที่ทนอ่านผลงานห่วยๆนี้ ขอบคุณจริงๆครับ 

                 " ไม่มีทางที่จะสำเร็จ หากขาดความเชื่อมั่นและความพยายามตั้งใจจริง "