วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อ่านให้เข้าใจ ไม่ใช่สักแต่อ่าน


         บางคนเวลาจะอ่านหนังสือกับขี้เกียจ ไม่อยากอ่าน แต่ก็ต้องอ่านเพราะมันสำคัญกับชิวิตมากถึงงขนาดที่ว่า ไม่อ่าน = ตาย แล้วเราทำอย่างไร จะอ่านอย่างไร เนื้อหาความรู้ก็มีซะเยอะแล้วยังเข้าใจยากอีกด้วย เราจะอ่านผ่านมันไปให้หมดๆไปแล้วดีไหม แล้วบอกตัวเองว่าอ่านแล้ว แล้วก็จบไป หรือ อ่านมันจนกว่าจะเข้าใจล่ะ  สำหรับผมแน่นอนอยู่แล้วต้องเลือกอ่านมันจนกว่าจะเข้าใจอย่างแน่นอน :D



         เพราะการอ่านมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับชั่วโมงการอ่านหรอก แต่มันขึ้นอยู่กับว่าเรา "อ่านอะไร" "เข้าใจแค่ไหน" "จำอะไรได้บ้าง" "ฝึกจนคล่องหรือยัง" หรือก็คือความเข้าใจเนื้อหา ไม่ใช่ "หน้านี้อ่านแล้ว" "โจทย์นี้เคยดูเฉลยแล้ว" "บทนี้เคยฟังแล้ว" "อ่านผ่านไปแล้วชั่งมัน" แล้วก็ข้ามๆไป แบบนี้เขาเรียกว่า "สักแต่อ่าน" ไม่ได้เข้าใจหรอก

         การสักแต่อ่านมันไม่ได้ช่วยอะไรเราเลยด้วยซ้ำ อย่างมากก็ช่วยแค่ทำให้นึกออกเท่านั้นว่าเคยอ่านผ่าน การกระทำแบบนี้อาจจะเรียกอีกอย่างว่าได้ว่า "หลอกตัวเอง" และอย่างที่รู้ๆกันว่าการหลอกตัวเองเป็นอย่างไร ดังนั้นอย่างหลอกตัวเองเลยครับ ไม่เข้าใจคือไม่เข้าใจครับ

         แล้วจะต้องอ่านหนังสืออย่างไร อันดับแรกเลยอย่าหลอกตัวเอง อย่าสักแต่อ่าน ไม่เข้าใจคือไม่เข้าใจ แล้วสนใจเนื้อหาที่อ่าน ขณะอ่านก็นึกคิดนึกตาม เราอ่านเรื่องอะไรไปบ้างแล้ว ได้อะไรไปบ้าง สรุปสิ่งที่ได้มา(ทำเป็นบันทึกเล่มเล็กๆก็ได้ช่วยได้มากเ) และหลังจากอ่านเสร็จประเมินตัวเองโดยการทดสอบกับตัวเอง อาจจะทำข้อสอบเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ผิดถูกไม่เป็นไร หากเราทำผิดเราต้องมาดูว่า  บกพร่องตรงไหน ทำไมถึงพลาดได้? ลืมตรงไหนก็กลับไปอ่านซะ แบบนี้จะได้ประโยชน์จากการอ่านมากที่สุด เพราะเราจะเข้าใจมากที่สุด การอ่านหนังสือแบบนี้แหละที่เขาเรียกว่า "การอ่านหนังสือ" อาจจะทำได้ยากกับวิชาที่ไม่ชอบ แต่ก็ลองเปิดใจดู วิชาแต่ละวิชาก็มีสิ่งที่น่าสนใจต่างๆกัน

         เมื่อเราสามารถทำการ "การอ่านหนังสือ" ได้แล้ว เราควรจะทำทุกวัน อย่าให้ขาด เอาให้สม่ำเสมอ วันเว้นวันก็ได้ ขอให้สม่ำเสมอเป็นพอ เพื่อทำให้ใจที่ยังคงอยากอ่านนี้ยังอยู่ เพราะในวันนึงเรามีเวลาจำกัดในการอ่าน บางคนอ่านได้แค่ 2ชั่งโมงบางคนมากกว่านั้น และด้วยเวลาอันน้อยนิดนั้น ไม่สามารถทำให้เราเข้าใจเนื้อหาบทนึงได้ทันทีหรอก มันต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหลายวัน หากเราขาดช่วงไปล่ะ ซวยล่ะสิ ความอยากอ่านหายวับ

 

         เวลาจะตั้งเป้าอ่านหนังสือ อย่าตั้งเป้าว่า "วันนี้อ่านสามชั่วโมงพอ" "วันนี้อ่าน 10-20 หน้าพอ" การตั้งเป้าแบบนี้ก็คล้ายกับสักแต่อ่านนั้นแหละ ถ้าเกิดหมดเวลา 3 ชั่วโมงล่ะ?? หยุดเหรอ?? ทั้งๆที่ยังไม่เข้าใจเนี่ยนะ?? ขอเน้นย้ำอีกครั้งการอ่านหนังสือนั้นจะต้องทำให้เข้าใจมากท่สุด ไม่ใช่อ่านให้มากที่สุด ดังนั้นเราควรจะตั้งเป้าเป็น "วันนี้จะต้องเข้าใจเรื่องนี้ให้ได้" "วันนี้จะต้องจำสูตรนู่นนั้นนี่ให้ได้"

         นอกจากการอ่านให้เข้าใจแล้ว หากอยากอ่านหนังสือได้นานๆ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราก็จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า "เทคนิค" มันคืออะไร เรื่องของเทคนิค มันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนสามารถอ่านหนังสือได้ดีกว่า หากอยู่ในที่บรรยากาศเงียบสงบ ในขณะที่อีกคนอ่านหนังสือได้เข้าใจมากกว่าเมื่อเปิดลำโพงเสียงดังกระหึ่ม บางคนชอบอ่านในเวลาที่ฝนตก บางคนต้องกินขนมไปด้วย บางคนต้องท้องอิ่มๆถึงจะอ่านได้ บางคนต้องอ่านในห้องน้ำ บางคนต้องเปิดทีวีไปด้วย ฟังเพลงไปด้วย บางคนต้องมีคนคุยด้วยถึงจะอ่านได้ดี บางคนต้องเล่นเฟมเล่นเฟซไปด้วยถึงจะอ่านหนังสือได้เข้าใจ เห็นไหมว่าเอกลักษณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราก็จะต้องหาเอกลักษณ์หรือเทคนิคของเราให้เขอว่าเราชอบแบบไหน บรรยากาศอย่างไร ถึงจะอ่านหนังสือให้เข้าใจมากที่สุด

         เพราะเหตุนี้เอง บางคนอ่านหนังสือน้อยแต่กลับทำคะแนนได้มากกว่าเรา เพราะเขาอาจจะอ่านแบบเข้าใจก็ได้ หรือมีเทคนิคเฉพาะตัว ในขณะที่เราอ่านไปมากมาย แต่ก็ยังทำคะแนนน้อย เราต้องมาดูว่า เราหลอกตัวเองหรือเปล่า เรามีเทคนิคอะไรไหม(ถ้าไม่มีก็ลองไปถามคนที่อ่านหนังสือเก่งๆ)  ลองเปลี่ยนพฤติกรรมการอ่านหนังสือดูสิ เราจะได้มีคะแนนสอบมากขี้น แล้วยังใช้เวลาการอ่านน้อยลง และยังสนุกกับมันอีกด้วย

         จากที่ร่ายมาทั้งหมด สิ่งสำคัญสำหรับการอ่านหนังสือคืออะไร คงจะรู้กันพอสมควรแล้ว นั่นคือ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ "ความเข้าใจ" ในเนื้อหาที่อ่าน(หรืออาจจะรวมเทคนิคด้วยก็ได้) ไม่ใช่ปริมาณการอ่านแต่อย่างใด เพราะความเข้าใจนี่แหละ จะช่วยให้เราทำข้อสอบได้แทบจะทั้งหมดเลยล่ะ :D


***ไม่ใช่ "พยายามอ่านหนังสือ" แต่เป็น "พยายามเข้าใจ"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น